You are currently viewing ตู้คอนเทรนเนอร์

ตู้คอนเทรนเนอร์

ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ มีความสำคัญอย่างมากเพื่อตอบโจทย์ในการบรรจุสินค้า หากต้องการโหลดสินค้าให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ตู้คอนเทนเนอร์ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป ใช้จัดส่งสินค้าทั่วๆไป เช่น ของแห้ง, ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้หรือเหล็ก, ชิ้นส่วนอะไหล่รถ หรือสินค้าอันตรายต่างๆ โดยตู้ของแต่ละสายเรือจะมีขนาดที่แตกต่างกันเล็กน้อย โดยตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ในการบรรจุส่วนใหญ่ จะมีขนาด ดังนี้

  • ขนาดตู้ 20 ฟุต เป็นตู้ที่มีความกว้าง x ยาว x สูง ที่ 0 ฟุต x 19.6 ฟุต x 8.6 ฟุต

และมีน้ำหนักบรรจุตู้ได้ไม่เกิน 21.7 ตัน และขนาดไม่เกิน 32-33.5 คิวบิกเมตร

  • ขนาดตู้ 40 ฟุต เป็นตู้ที่มีความกว้าง x ยาว x สูง ที่่ 0 ฟุต x 40.0 ฟุต x 9.6 ฟุต

และมีน้ำหนักบรรจุตู้ได้ไม่เกิน 27.4 ตัน และขนาดไม่เกิน 76.4-76.88 คิวบิกเมตร

  • ขนาดตู้ 40 ฟุตไฮคิวบ์ เป็นตู้ที่มีความกว้าง x ยาว x สูง ที่่ 0 ฟุต x 40.0 ฟุต x 9.6 ฟุต

และมีน้ำหนักบรรจุตู้ได้ไม่เกิน 27.4 ตัน และขนาดไม่เกิน 76.4-76.88 คิวบิกเมตร

ในตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต และแบบไฮคิวบ์ จะแตกต่างกันที่ส่วนสูงภายในเท่านั้น

และในบางสายเรืออาจมีตู้ขนาดยาว 45 ฟุต ให้บริการด้วย

การขนส่งสินค้าทางเรือมี 2 ประเภท คือ

การขนส่งแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ (LESS THAN CONTAINER LOAD : LCL)

เป็นการบรรจุสินค้าไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ เหมาะสำหรับสินค้าที่มีปริมาณไม่มาก

โดยสินค้าภายในตู้จะเป็นของลูกค้ามากกว่าหนึ่งราย ซึ่งต้องแบ่งพื้นที่ในตู้คอนเทนเนอร์เดียวกัน

การขนส่งแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์ (FULL CONTAINER LOAD : FCL)

การบรรจุสินค้าจนเต็มตู้คอนเทนเนอร์ เหมาะสำหรับสินค้าที่มีปริมาณมาก

โดยสินค้าภายในตู้จะเป็นของลูกค้าเพียงรายเดียว ไม่มีการร่วมใช้พื้นที่กับลูกค้ารายอื่นๆ

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์

นอกจากตู้คอนเทนเนอร์จะมีหลายขนาดให้เลือกแล้ว ยังมีหลายประเภทให้เลือกอีกด้วย เพื่อให้สามารถบรรจุสินค้าได้เหมาะสมกับชนิดของสินค้า

ตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐาน DRY CARGO / DRY BOX

เป็นตู้คอนเทนเนอร์แบบทั่วไป ที่ใช้บรรจุสินค้าที่มีการบรรจุหีบห่อมาอย่างดี และเป็นสินค้าที่ไม่ต้องควบคุมรักษาอุณหภูมิในการขนส่ง มีทั้งขนาด 20 ฟุต 40 ฟุต 40 ฟุตไฮคิวบ์ และ 45 ฟุตไฮคิวบ์

ใช้ขนสินค้าประเภทของแห้ง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้หรือเหล็ก ชิ้นส่วนอะไหล่รถ เป็นต้น

ตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมความเย็น REFRIGERATOR CARGO / REEFER

เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่มีการติดตั้งเครื่องทำความเย็น และมีที่วัดอุณหภูมิ เพื่อแสดงอุณหภูมิของตู้สินค้า ใช้เพื่อบรรจุสินค้าประเภทของสด อาหารทะเล ผลไม้ ไอศกรีม สารเคมี ยาเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือของที่จะต้องการควบคุมความเย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสม

          สามารถลดอุณหภูมิได้ถึง -25 องศาเซลเซียส และบางชนิดสามารถปรับได้ถึง -60 องศาเซลเซียส

ซึ่งราคาในการใช้บริการก็จะสูงกว่าตู้คอนเทนเนอร์ทั่วไป เพราะมีค่าไฟฟ้าเพิ่มเข้ามาด้วย รวมถึงสินค้าจะมีความเสี่ยงในการควบคุมอุณหภูมิตลอดการเดินทาง ดังนั้นในการขนส่งด้วยตู้ประเภทนี้จึงควรทำประกันสินค้าคุ้มครองความเสียหายระหว่างขนส่งด้วย

ตู้คอนเทนเนอร์ OPEN TOP

ตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้มีขนาดใหญ่ และมีความสูงถึง 40 ฟุต โดยจะไม่มีหลังคา ออกแบบมาให้ด้านบนเปิดโล่ง ตู้ประเภทนี้ใช้สำหรับขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถขนย้ายผ่านประตูตู้ได้

หรือสูงเป็นพิเศษ (เกินกว่า 2.7 เมตร) เช่น เครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้างบางประเภท ยานพาหนะที่มีความสูงเป็นพิเศษ และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่ เป็นต้น

          ตู้ประเภทนี้จะไม่สามารถวางตู้ซ้อนกันที่ด้านบนได้ ทำให้การใช้พื้นที่มีข้อจำกัดเพิ่มขึ้น

จึงมีราคาค่าขนส่งที่สูงกว่าการขนส่งแบบตู้ทั่วไป และในระหว่างการขนส่งจะมีการคลุมผ้าใบไว้

เพื่อไม่ให้สินค้าได้รับได้รับความเสียหายจากน้ำ

ตู้คอนเทนเนอร์ FLAT-RACK

เป็นตู้คอนเทนเนอร์แบบพื้นราบ (Platform) ไม่มีรูปร่างลักษณะเป็นตู้คอนเทนเนอร์ มีเพียงพื้นที่เรียบกับแผ่นกั้นหน้าหลังเท่านั้น เปิดโล่งทั้งด้านบนและด้านข้าง มีขนาดกว้างและยาวตามขนาดของตู้สินค้ามาตรฐาน ออกแบบมาเพื่อบรรจุสินค้าที่มีลักษณะพิเศษ ที่มีขนาดกว้างเกินไป

และสูงเกินไป ใส่ตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐานไม่ได้ มีทั้งขนาด 20 ฟุต และ 40 ฟุต

เหมาะใช้ขนส่งสินค้า เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์อุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้าง หัวรถจักร หรือยานพาหนะที่มีลักษณะกว้างยาวสูงเป็นพิเศษ เพื่อให้จัดเรียงได้อย่างเป็นระเบียบและได้มาตรฐาน

          ตู้ประเภทนี้ไม่สามารถวางซ้อนกันได้ ดังนั้นราคาในการขนส่งก็จะสูงกว่าการจัดส่งตู้ทั่วไป

ตู้คอนเทนเนอร์ GARMENT CONTAINNER

เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ออกแบบสำหรับใช้ในการบรรจุสินค้าที่เป็นเสื้อผ้าโดยเฉพาธ โดยมีราวสำหรับแขวนเสื้อ เป็นตู้สินค้าประเภทพิเศษที่ผลิตขึ้นมาใช้กับสินค้าที่เป็น Fashion เป็นหลัก และสามารถขนส่งได้โดยไม่ต้องพับ หรือบรรจุภัณฑ์สินค้าให้สินค้ายับ ไม่สวยงาม

ตู้คอนเทนเนอร์ VENTILATED

ตู้คอนเทนเนอร์ประเภท Ventilated เป็นตู้ที่ออกแบบมาพิเศษ ที่มีการติดพัดลมดูดอากาศเพิ่มเข้าไป เพื่อใช้ในการบรรทุกขนส่งสินค้าที่ต้องการการระบายอากาศ เช่น ผลไม้บางชนิด

ตู้คอนเทนเนอร์ TANK / ISO TANK

ตู้คอนเทนเนอร์ประเภท Tank ถูกออกแบบมาให้เป็นเหมือนถังบรรจุของเหลว ที่มีโครงขนาดเท่าตู้คอนเทนเนอร์ทั่วไปครอบอยู่ ตู้ประเภทนี้นี้จะใช้กับสินค้าที่เป็นของเหลว โดยความจุของถังจะอยู่ที่ 11,000 ลิตรถึง 26,000 ลิตร ขึ้นอยู่กับประเภทของถัง รวมถึงใช้สำหรับขนส่งของเหลวที่เป็นอันตรายได้อีกด้วย

สิ่งที่น่าสนใจของตู้ประเภทนี้คือ สามารถบรรจุของเหลวได้มากกว่าการบรรจุใส่ถังแล้วนำมาโหลดเข้าตู้ และยังขนย้ายได้ง่ายกว่า