การขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Freight)
วิธีการคำนวณ เราจะใช้น้ำหนักในการคิดคำนวณค่าระวางสินค้า แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
- การคิดจากน้ำหนักรวมที่ชั่งได้ Actual Weight / Gross Weight
- การคิดจากปริมาตรความจุ Volume Weight
โดยค่าไหนมากกว่าจะใช้ค่านั้นในการคำนวณค่าระวางสินค้า
ค่าระวาง = อัตราค่าระวางสินค้า X น้ำหนักสินค้า (ที่ได้จากการเปรียบเทียบ)
การเปรียบเทียบน้ำหนักสินค้า
- Actual Weight = จำนวนสินค้า X น้ำหนักต่อกล่อง
เช่น = 10 X 30 = 300 กิโลกรัม
- Volume Weight = จำนวนสินค้า X ปริมาตรของกล่อง (กว้าง x ยาว x สูง) (ซม.)
เช่น = 10 X (60X60X60) / 6,000 = 360 กิโลกรัม
(***6,000 คืออัตราเปรียบเทียบที่ทางสายการบินเป็นผู้กำหนด***)
จากการคำนวณจะเห็นได้กว่า Volume Weight (360 กิโลกรัม) มากกว่า Actual Weight (300 กิโลกรัม) ดังนั้น เราจึงใช้ Volume Weight ในการคิดค่าระวางสินค้า (ค่าไหนมากกว่าใช้ค่านั้นในการคิดค่าระวาง)
การขนส่งสินค้าทางเรือ (Sea Freight)
การขนส่งสินค้าทางเรือ โดยระบบตู้คอนเทนเนอร์นั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- FULL CONTAINER LOAD (FCL) = คิดค่าระวางสินค้าตามจำนวนตู้
- LESS THAN CONTAINER LOAD (LCL) = คิดค่าระวางสินค้าตามลูกบาศก์เมตร (CBM) หรือ น้ำหนักปริมาตร (Weight Ton)
ค่าระวาง = อัตราค่าระวางสินค้า X ปริมาตรสินค้า (ที่ได้จากการเปรียบเทียบ)
การเปรียบเทียบปริมาตรสินค้า (กรณีตู้ LCL)
- ลูกบาศก์เมตร (CBM) = จำนวนสินค้า X ปริมาตรลูกบาศก์เมตรต่อกล่อง
(กว้าง x ยาว x สูง) (ซม.) เช่น
= 50 X [(60X60X60) / 1,000,000]
= 50 X 0.22
= 11 CBM
(***1,000,000คืออัตราเปรียบเทียบที่ทางสายการเดินเรือเป็นผู้กำหนด***)
- Weight Ton = จำนวนสินค้า X น้ำหนักต่อกล่อง (ตัน)
เช่น
= 50 X (60 / 1,000)
= 3 TON
จากการคำนวณจะเห็นได้กว่า ลูกบาศก์เมตร (CBM) (11 CBM) มากกว่า Weight Ton (3 TON) ดังนั้น เราจึงใช้ ลูกบาศก์เมตร (CBM) ในการคิดค่าระวางสินค้า
(ค่าไหนมากกว่าใช้ค่านั้นในการคิดค่าระวาง)